14.2.1 มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน้ำจืด เช่น การจัดการชลประทาน การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติ  

     ▶️ หน่วยงานของคณะประมง กับการจัดโปรแกรมการการสอนด้านระบบนิเวศ์น้ำจืดให้แก่ชุมชม
     คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน้ำจืดให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน   รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ร่วมจัดถ่ายทอดความรู้ให้ความรู้แก่ชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงและการจัดการด้านประมง
    คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชุนในการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบก ให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน ร่วมกิจกรรมงานประมงน้อมเกล้าเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประมงกับกรมประมง รวมทั้งจัดโครงการบริการวิชาการความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  โดยให้ความรู้ในภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติในกิจกรรม "การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด"   แก่อาจารย์และนิสิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.2.2   มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนหรือโปรแกรมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเรื่องการจัดการการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

     ▶️ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอนหรือโปรแกรมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน 
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยงอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️ จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านประมงสู่ชุมชน
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการประมงให้กับสังคมและชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง  อาทิ การจัดนิทรรศการองค์ความรู้เรื่อง "ปูม้า สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่" ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  การจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ....รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  จัดกิจกรรมและร่วมจัดกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงและการจัดการด้านประมง
           คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีจัดจัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชุนในการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ กิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบก ให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน ร่วมกิจกรรมงานประมงน้อมเกล้าเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประมงกับกรมประมง รวมทั้งจัดโครงการบริการวิชาการความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  โดยให้ความรู้ในภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติในกิจกรรม "การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด"   แก่อาจารย์และนิสิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นต้น   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.2.3   มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสานึกต่อการทำประมงเกินขนาด การทำประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและการทำประมงแบบทำลายล้าง

     ▶️  กิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกต่อการทำประมงผิดกฏหมาย           
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสานึกต่อการทำประมงเกินขนาด การทำประมงผิดกฎหมาย รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน  โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบัน ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  อาทิ กิจกรรมการอนุรักษ์และเพิ่มสัตว์น้ำท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตปูทะเลในพื้นที่ภาคใต้สู่การเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ของประเทศร่วมกันฯ"   รายละเอียดเพิ่มเติม...   

14.3.1   มีการสนับสนุนหรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

     ▶️  จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเล       
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสานึกต่อการทำประมงเกินขนาด การทำประมงผิดกฎหมาย รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน  โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบัน ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  อาทิ กิจกรรมการอนุรักษ์และเพิ่มสัตว์น้ำท้องถิ่น เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้ยั่งยืนและเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตปูทะเลในพื้นที่ภาคใต้สู่การเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดใหม่ของประเทศร่วมกันฯ"   รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)
           ในปี 2565 สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม และต่อเนื่องมาถึงปี 2566 ไดจัดกิจกรรมขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)   รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ร่วมทำกิจกรรมวันทะเลโลก เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทั่วโลกช่วยกันปกป้องและรักษาทะเล     
           
สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมทำกิจกรรมวันทะเลโลก โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,สำนักงานบริหารการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่6 ร่วมกันทำกิจกรรมกับหน่วยงานราชการและองค์กรต่างๆ ภายในจังหวัดระนอง พร้อมทั้งชาวบ้าน ทำกิจกรรมปล่อยเต่าทะเล ปลูกป่า ทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับวันทะเลโลก ณ หาดทะเลนอก จังหวัดระนอง    รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.3.3   มีการดำเนินการ (วิจัยหรือร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม) ในการรักษาหรือฟื้นฟูระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบนิเวศที่ถูกคุกคาม

     ▶️  โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง Eutrophication in the Inner Gulf of Thailand         
          วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2566 เรือสำรวจวิจัยเกษตรศาสตร์ 1 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกปฏิบัติภารกิจสำรวจวิจัยและเก็บตัวอย่างสมุทรศาสตร์สิ่งแวดล้อม บริเวณอ่าวไทยตอนใน ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง Eutrophication in the Inner Gulf of Thailand โดยคณะนักวิจัย​จากมหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับคณะนักวิจัยจาก Ehime university, Nagoya university Jamstec และ Kagawa university ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล ถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญของเรือสำรวจวิจัยเกษตรศาสตร์ 1 ในการสนับสนุนภารกิจดังกล่าว     รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)
           ในปี 2565 สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม และต่อเนื่องมาถึงปี 2566 ไดจัดกิจกรรมขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)   รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ภารกิจพิทักษ์โลมาอิรวดีฝูงสุดท้ายของไทย
          นับเป็นหนึ่งในประเด็นใหญ่ของวงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของไทย สำหรับภารกิจพิทักษ์ “โลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้าย แห่งทะเลสาบสงขลา จ.พัทลุง”  ซึ่งจัดเป็นสัตว์ทะเลสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ท่ามกลางขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์ ความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน แต่ภารกิจพิทักษ์โลมาอิรวดีฝูงสุดท้ายของไทยนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก แม้มีการทำคลอดแผนอนุรักษ์ แต่ยังเผชิญกับอุปสรรคแวดล้อมที่ยากจะหลีกเลี่ยง รวมทั้งหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติก่อสร้าง  “สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา และสะพานเชื่อมเกาะลันตา”   ส่งผลให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลผลกระทบโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายในทะเลสาบสงขลา จ.พัทลุง   ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล ในฐานะประธานคณะทำงานสัตว์ทะเลหายาก ได้เสนอเกี่ยวกับการหั่นงบประมาณอนุรักษณ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาของรัฐ  จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่ออนุรักษ์โลมา เปิดให้องค์กรต่างๆ และผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยได้ นั่นหมายถึงว่าจะมีเงินมากขึ้นกว่าเงินงบประมาณปกติ  รายละเอียดเพิ่มเติม...
  

14.3.4   มีการวิจัยหรือร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือแนวปฏิบัติที่ช่วยป้องกันและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  ร่วมเสวนาวิชาการเรื่อง "ทะเลสีเขียว...มหันภัยร้ายกว่าที่คิด"         
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมเสนาวิชาการเรื่อง ""ทะเลสีเขียว...มหันภัยร้ายกว่าที่คิด"  ซึ่งเกิดจากปัญหาแพลงตอนบลูมและออกซิเจนต่ำที่คร่าชีวิตสัตว์น้ำและสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศ เศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างเรื้อรัง จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)
           ในปี 2565 สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม และต่อเนื่องมาถึงปี 2566 ไดจัดกิจกรรมขยายผลองค์ความรู้ เรื่อง "การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" ภายใต้งานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC)   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อวางแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
          คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมวางแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยในปี 2565  ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มูลนิธิเอ็นไลฟ โดยการสนับสนุนของ บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีวลลอปเม้นท์ จำกัด (ปตท.สผ. อีดี)  ในโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.4.2   มีการดำเนินแนวทางในการลดขยะพลาสติกภายในคณะ

     ▶️  จัดโครงการการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบในหน่วยงาน        
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดทำ "โครงการการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบในหน่วยงาน" เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต พร้อมทั้งจัดทำเสื้อ Upcycling เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจ ซึ่งจะเริ่มจัดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  การจัดการขยะในจัดกิจกรรมการค่ายประมงอาสารพัฒนาสถานี ครั้งที่ 1 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตคณะประมงได้ร่วมกับสโมสรนิสิตคณะประมง จัดกิจกรรมค่ายประมงอาสาพัฒนาสถานี ครั้งที่ 1  ในวันที่ 8 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตและบุคลากรของสถานีฯ ได้ตระหนักรู้ เรื่อง การคัดแยกขยะ และการจัดการขยะพลาสติกรีไซเคิลที่ทุกคนสามารถนำไปทำตามได้ง่าย ๆ  อันจะนำไปสู่การลดขยะพลาสติดของสถานีฯ  รายละเอียดเพิ่มเติม...
  

14.5.1  มีนโยบายการลดผลกระทบทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ

     ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ อาทิ ร่วมกับ ปตท.สผ. ที่สนับสนุนการตรวจสุขภาพปะการังจากโลกร้อน ร่วมกับกลุ่มบางจากฯ กับเส้นทาง Blue Carbon ในทะเลตะวันออก ต่อยอดสู่ภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่เกาะหมาก ร่วมขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  จากงานวิจัยเพื่อฟื้นฟูหญ้าทะเล แหล่ง"Blue Carbon"  สู่คาร์บอนเครดิต“หญ้าทะเล” ลดโลกร้อน
           หญ้าทะเลเป็นแหล่ง Blue Carbon ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานเกี่ยวกับหญ้าทะเลมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา คณะประมงเน้นการวิจัยเพื่ออนาคต เพื่อหาวิธีในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลโดยแก้ปัญหาการใช้ต้นพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติให้น้อยที่สุด จากการเวลาศึกษา ลองผิดมากกว่าลองถูก จนในที่สุดเราสามารถพัฒนาวิธีการกระตุ้นให้หญ้าชะเงาแตกยอด จาก 1 เมล็ด ให้ออกมาเป็น 300 ยอด ได้เป็นผลสำเร็จ  ปัจจุบัน เราร่วมมือกับหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัย กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พัฒนาวิธีการผลิตต้นพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและอนุบาลต้นอ่อน   และในปี 2565 คณะประมง ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทบางจากในการศึกษา“หญ้าทะเล” เพื่อลดโลกร้อน พื้นที่ในการสำรวจแหล่งหญ้าทะเล จะเป็นบริเวณอ่าวกระเบื้อง เกาะหมาก 10 ไร่ และฝั่งตะวันตกของเกาะกระดาด 12.3 ไร่ และมีการนำตัวอย่างดิน ไปศึกษาวิจัยในห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  การทดลองใช้เทคโนโลยี “LiDAR” เพื่อศึกษาแนวปะการังครั้งแรกของไทย        
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับกองทุนดิจิทัลและกระทรวงทรัพยากรฯ ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่ออนุรักษ์แนวปะการังและรับมือกับโลกร้อน  ภายใต้โครงการสำรวจชายฝั่ง EEC เพื่อทำแผนที่ base map ด้วยการสร้างภาพชายฝั่งและแนวปะการังจากข้อมูล LiDAR  เพื่อใช้ในการสำรวจความหลากหลาย หาตำแหน่งปะการังที่แน่ชัดเพื่อส่งคนไปเก็บข้อมูลให้ตรงจุด (มี GPS ทุกจุด) ลดเวลาค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก รวมถึงสามารถบอกถึงการสะสมทราย และการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะธรรมชาติแปรปรวน แทบไม่เหลือเวลาให้เราแล้ว คณะประมงจึงทำงานอย่างเร่งด่วน เพื่อหาทางช่วยทะเลและคนทะเลเท่าที่เราสามารถทำได้      รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.2  มีการติดตามและดูแลสุขภาพของระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  การทดลองใช้เทคโนโลยี “LiDAR” เพื่อศึกษาแนวปะการังครั้งแรกของไทย        
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับกองทุนดิจิทัลและกระทรวงทรัพยากรฯ ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงเพื่ออนุรักษ์แนวปะการังและรับมือกับโลกร้อน  ภายใต้โครงการสำรวจชายฝั่ง EEC เพื่อทำแผนที่ base map ด้วยการสร้างภาพชายฝั่งและแนวปะการังจากข้อมูล LiDAR  เพื่อใช้ในการสำรวจความหลากหลาย หาตำแหน่งปะการังที่แน่ชัดเพื่อส่งคนไปเก็บข้อมูลให้ตรงจุด (มี GPS ทุกจุด) ลดเวลาค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก รวมถึงสามารถบอกถึงการสะสมทราย และการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะธรร

     ▶️  ศึกษาและวิจัยเพื่อแหล่งน้ำไทยสู่การพัฒนา        
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยาการน้ำ (สสน.) ร่วมสำรวจ "พลวัติการรุกตัวของลิ่มความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยา  ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 2   โดยการสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการรุกตัวของลิ่มความเค็ม แบบ 3 มิติ ตลอดลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากแม่น้ำ รวมเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาแบบจำลอง การรุกตัวของลิ่มความเค็ม ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และคุณภาพน้ำประปา เพื่อการอุปโภค บริโภค ตลอดจนการเกษตรกรรม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ อาทิ ร่วมกับ ปตท.สผ. ที่สนับสนุนการตรวจสุขภาพปะการังจากโลกร้อน ร่วมกับกลุ่มบางจากฯ กับเส้นทาง Blue Carbon ในทะเลตะวันออก ต่อยอดสู่ภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่เกาะหมาก ร่วมขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.3  มีการพัฒนาและสนับสนุนโครงการหรือแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ

     ▶️  ร่วมเป็นคณะทำงานด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธ์       
            ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมเป็นคณะทำงานกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อกำหนดแผนอนุรักษ์ระยะยาว 10 ปีด้านสัตว์ทะเลหายาก โดยในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2566  ในฐานะประธานคณะทำงาน ร่วมประชุมและมีมติผ่านร่างประกาศท่องเที่ยวดูวาฬ จะเป็นกฏหมายนำร่องของไทยในการดูแลเรื่องท่องเที่ยวสัตว์ทะเลหายาก  รวมทั้งมีการปรับแก้ระยะห่างของโดรนกับระยะห่างในน้ำ เพื่อความปลอดภัยของฉลามวาฬ   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอันดามัน      
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมและร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบันมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ  ร่วมกิจกรรม​​#คืนเต่าตนุสู่ท้องทะเลไทย  วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 โดยในกิจกรรมมีการปล่อยเต่าตนุจำนวน 26 ตัว และปล่อยหอยหมากจำนวน 50,000 ตัว เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศทางทะเล ณ สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ อาทิ ร่วมกับ ปตท.สผ. ที่สนับสนุนการตรวจสุขภาพปะการังจากโลกร้อน ร่วมกับกลุ่มบางจากฯ กับเส้นทาง Blue Carbon ในทะเลตะวันออก ต่อยอดสู่ภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่เกาะหมาก ร่วมขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

 

14.5.4  มีการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการรักษาระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  กิจกรรมค่าย “เยาวชนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง”       
           สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมค่าย “เยาวชนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง”  ให้กับคณะคุณครูและนักเรียนจากโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา ได้เรียนรู้ระบบนิเวศน์ต่างๆ อาทิเช่น ระบบนิเวศน์หาดทราย ระบบนิเวศน์หาดหิน การสำรวจความหลากของสัตว์หน้าดินในป่าชายเลน การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การตรวจหาไมโครพลาสติกในทะเล การสำรวจแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณหน้าหาดประพาส และ คลองกำพวน ทั้งยังมีกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม ให้แก่น้องๆ นักเรียนอีกด้วย กิจกรรมและค่ายครั้งนี้จะเป็นประสบการณ์ให้น้องๆ ได้รับความรู้และได้ศึกษาระบบนิเวศน์ในพื้นที่จริง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดได้อีกด้วย     รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมกิจกรรมฟอกทรายคืนสู่ทะเล (WASH THE SAND BACK TO THE SEA)     
            วันที่ 26 มิถุนายน 2566 สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ิ ได้ร่วมกิจกรรมฟอกทรายคืนสู่ทะเล (WASH THE SAND BACK TO THE SEA) กับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะสุรินทร์.เกาะสุรินทร์  จังหวัดพังงา และ  ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลกระบี่  กองตรวจการประมง กรมประมง และตัวแทนหน่วยงานต่างๆในจังหวัดระนอง รวมทั้งสิ้น 150 คน  ณ พื้นที่หาดประพาส ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก ให้ร่วมกันรักษาความสะอาด เพื่อความสวยงามของทะเลให้เคียงคู่กับการดำรงอยู่ของชุมชนต่อไป  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ผู้เรียนด้านจิตอาสาการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม         
           สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศชายฝั่ง, การเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจท้องถิ่นเช่น การเพาะเลี้ยงหอยหวานและหอยหมาก ,การเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาว ภายในโรงเพาะฟัก, การเรียนรู้เกี่ยวกับขยะทะเลและไมโครพลาสติก การจัดจำแนกประเภทของขยะ และการรณรงค์การเก็บขยะ และดูแลสภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่ง ให้กับนักเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 70 คน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความสำคัญของระบบนิเวศในมิติต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการแนะแนวการศึกษาต่อและแนวทางการประกอบอาชีพทางประมง   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.5  มีกลยุทธ์ในการจัดการลุ่มน้ำบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ 

     ▶️   ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการลุ่มน้ำบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต        
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดการลุ่มน้ำบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบันมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ครั้งที่ 1  ร่วมประชุมเครือข่ายภาคีชุมชนชายฝั่ง อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ อาทิ ร่วมกับ ปตท.สผ. ที่สนับสนุนการตรวจสุขภาพปะการังจากโลกร้อน ร่วมกับกลุ่มบางจากฯ กับเส้นทาง Blue Carbon ในทะเลตะวันออก ต่อยอดสู่ภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่เกาะหมาก ร่วมขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...