2023-07-24 ถึง 2023-07-28
▶️
1)นายพุทธายะ กำเนิดศิริ (Pudthaya Kumnerdsiri) นิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ ชั้นปีที่ 1
2)นายนิติธร จันทร์เพ็ญ (Nititorn Chanpen) นิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การประมง ชั้นปีที่ 3
3) นางสาวณัฐธนนันทร์ พันธุ์ศรี นิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชั้นปีที่ 3
ได้รับการคัดเลือกและได้รับทุนสนับสนุนจากคณะประมง เข้าร่วมโครงการ OQEANOUS Plus-หลักสูตรแลกเปลี่ยนระยะสั้น (Short Term Program; STP summer school) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2023 โดยวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายออนไลน์ ผ่าน Zoom ภายใต้หัวข้อ Can marine science and fisheries science save the world from food shortages? และ วันที่ 2-7 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรม ณ Tokyo University of Marine Science and technology กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
2023-07-24 ถึง 2023-07-28
▶️นางสาวณัฐธนนันทร์ พันธุ์ศรี นิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชั้นปีที่ 3 ได้รับการคัดเลือกและได้รับทุนสนับสนุนจากคณะประมง เข้าร่วมโครงการ OQEANOUS Plus-หลักสูตรแลกเปลี่ยนระยะสั้น (Short Term Program; STP summer school) ครั้งที่ 2 ประจำปี 2023 โดยวันที่ 24-28 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายออนไลน์ ผ่าน Zoom ภายใต้หัวข้อ Can marine science and fisheries science save the world from food shortages? และ วันที่ 2-7 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรม ณ Tokyo University of Marine Science and technology กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
2023-10-05 ถึง 2023-12-05
▶️ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2566 ผศ. ดร. สุขกฤช นิมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมนิสิตฝึกงานและหารือถึงการขยายความร่วมมือทั้งด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนนิสิต ณ Central Luzon State University ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการส่งนิสิตไปฝึกงานต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
Central Luzon State University ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1907 มีนักศึกษารวมประมาณทั้งสิ้น 10,000 คน มีความโดดเด่นด้านงานวิจัยและการเรียนการสอนทางการเกษตรและประมง อีกทั้งมีสถานที่เพาะและเลี้ยงปลานิลเพื่อการเรียนการสอนและงานวิจัยอีกด้วย
การเดินทางครั้งนี้ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก Acting Dean of the College of Fisheries, Professor Ravelina R. Velasco พาคณะนิสิตไปเยี่ยมชมฟาร์มเพาะพันธุ์ปลานิลแปลงเพศที่เขต Arayat จังหวัด Pampanga ซึ่งนิสิตได้มีโอกาสพูดคุยและวิเคราะห์ถึงความเหมือนและแตกต่างจากระบบการเลี้ยงที่ประเทศไทย อีกทั้ง ผศ. ดร. สุขกฤช นิมิตรกุล ยังได้มีโอกาสนำเสนอแนะนำคณะประมงและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แก่คณาจารย์และนักศึกษาของ Central Luzon State University อีกด้วย
ดูภาพเพิ่มเติม2023-01-02 ถึง 2023-05-15
▶️นาย ธนบูรณ์ จุลพรหม นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการคัดเลือกจากโครงการเสริมสร้างศักยภาพนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สากล ประจำปี 2566 โครงการย่อยที่ 1 เพื่อแลกเปลี่ยนนิสิตระดับปริญญาตรีและถ่ายโอนหน่วยกิต ที่มหาวิทยาลัย Kentucky State University ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา (2 มกราคม - 15 พฤษภาคม 2566) โดยธนะบูลย์กล่าวว่า การที่มีโอกาสได้ไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศทำให้นิสิตได้รับประสบการณ์ต่างๆเพิ่มมากขึ้น ทั้งได้เข้าเรียนในชั้นเรียนร่วมกับเพื่อนต่างชาติ ได้ฝึกปฏิบัติการด้านต่างๆ เช่น ด้านอาหารสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ การเลี้ยงกุ้งระบบไบโอฟลอค เป็นต้น รวมทั้งได้ใช้เครื่องมือการทดลองขั้นสูงต่างๆ การมีเพื่อนใหม่จากต่างสัญชาติ ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิด วัฒนธรรมที่แตกต่าง ได้เปิดมุมมองที่กว้างมากขึ้น ได้ประสบการณ์ในการเอาตัวรอด และที่สำคัญได้ฝึกฝน พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้มั่นใจในการสื่อสารมากขึ้นด้วย
ดูภาพเพิ่มเติม2023-04-05 ถึง 2023-09-30
▶️5 เมษายน 2566 นางสาวจิรนันท์ คำพุฒ และนางสาวพิชญา เสวกวรรณ นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้าร่วม โครงการ OQEANOUS Plus: IJP (International Joint program) ครั้งที่ 1 ประจำปี 2023 โดย IJP เป็นโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศระยะ 6 เดือน (5 เมษายน 2566 -30 กันยายน 2566) นิสิตสามารถโอนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน ณ มหาวิทยาลัย Tokyo University of Marine Science and Technology ได้
ดูภาพเพิ่มเติม2023-02-27 ถึง 2023-03-03
▶️นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 8 คน จากคณะประมง คณะศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ เข้าร่วมโครงการ "Japan Studies Spring Intensive Program in Minamata ณ เมืองมินะมะตะ จังหวัดคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2566 ภายใต้การประสานความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) และ Prefectural University of Kumamoto (PUK) ร่วมกับ Minamata Environmental Acadamia
นิสิต KU และนิสิต PUK ได้ร่วมกันศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองมินะมะตะ หลังวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่ให้กำเนิดโรคมินะมะตะ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพิษของสารปรอท ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง จนปัจจุบันเมืองมินะมะตะเป็นหนึ่งในเมืองที่ได้รับรางวัลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี Top Eco-City ของประเทศญี่ปุ่น
นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ร่วมกับอาจารย์ และนิสิตต่างชาติ เช่นประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา เป็นการเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และสร้างเครือข่ายทางวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
2565-10-24 ถึง 2565-10-28
▶️นิสิตคณะประมงจำนวน 3 คน ได้แก่ นายวีรภัทร ปิยะพันธ์ นิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง นางสาวอรจิรา ก่อบุญ นิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและเทคโนโลยี (นานาชาติ) และนายพัชรพล บุญเสริม นิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ลงทะเบียนเรียน OQEANOUS Plus short-term program ซึ่งจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ online ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2565 บรรยายโดยอาจารย์ 17 ท่าน จาก 7 มหาวิทยาลัย มีนิสิตเข้าร่วมจำนวน 32 คน และเดินทางเข้าร่วม field trip ณ Tokyo University of Marine Science and technology (TUMSAT) ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2565 โดยนิสิตที่เข้าร่วมเรียน ส่งรายงานและร่วมกิจกรรมครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ 2 หน่วยกิต กิจกรรมที่เข้าร่วม ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้
(1) นำเสนองาน เข้าฟังสัมมนา และเข้าพบ Professor Mashashi YOKOTA (นางสาวอรจิรา ก่อบุญ และนายพัชรพล บุญเสริม) Professor Kazufumi OSAKO และ Professor Perez Yvan Antonio LLAVE (นายวีรภัทร ปิยะพันธ์)
(2) เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ สถานีวิจัย Tateyama, Chiba
(3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นภายใต้โครงการ
(4) เรียนรู้วัฒนธรรม งานศิลปะในเขตชินากาว่า เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางศาสนา และ Museum of Marine Science