ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง มีภารกิจการเรียนการสอนและทำวิจัยด้านผลิตภัณฑ์ประมง มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในสาขาเคมี ชีวเคมีของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ จุลชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพของผลิตภัณฑ์ประมง การดูแลระหว่างการจับ การขนส่ง และหลังการจับสัตว์น้ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง และการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมง การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของผลิตภัณฑ์ประมง และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารจากผลิตผลทางการประมง

หลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีของ 'ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง'

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะประมงมี 1 หลักสูตร คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง)  โดยแยกเป็น 5 สาขา  โดยหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีของผลิตภัณฑ์ประมง คือ

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ประมง) สาขาผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products)

การศึกษานิสิตของคณะประมง ในช่วง 1-2 ปีแรก วิชาที่เรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาในหมวดความรู้ทั่วไปของสายวิทยาศาสตร์(General education courses)  หลังจากนั้นจึงจะได้ศึกษาในสาขาวิชาแกน และหมวดวิชาเฉพาะในแต่ละภาควิชา โดยมีรายละเอียดของหมวดวิชาเฉพาะของภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง ดังนี้

01254221 โภชนศาสตร์สัตว์น้ำ(Fishery Product Nutrition) 3 (3-0-6)
01254271 หลักการดูแลหลังการจับและเทคโนโลยีทางผลิตภัณฑ์ประมง (Principle of Post-Harvest and Fishery Products Technology) 3 (3-0-6)
01254311 จุลชีววิทยาประมง  (Fishery Microbiology) 3 (2-3-6)
01254311 จุลชีววิทยาของผลิตภัณฑ์ประมง  (Microbiology of Fishery Products) 3 (2-3-6)
01254321 เคมีของผลิตภัณฑ์ประมง  (Microbiology of Fishery Products) 3 (2-3-6)
01254322 การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ประมง  (Microbiology of Fishery Products) 3 (2-3-6)
01254341 การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ประมง  (Quality Control of Fishery Products) 3 (2-3-6)
01254342 มาตรฐานและกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประมง  (Standard and Regulations on Fishery Products) 1 (1-0-2)
01254343 ระบบการประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ  (Quality Assurance System in Fishery Industry) 2 (2-0-4)
01254351 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมง  ( Fishery Products Development) 2 (2-0-4)
01254371 การแช่เย็นและแช่แข็งสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง  (Chilling and Freezing  of Fish and  Products) 3 (3-0-6)
01254372 หลักการแปรรูปสัตว์น้ำ (Principle of Fish Processing) 3 (2-3-6)
01254373 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงด้วยความร้อนสูง (Thermal Processing for Fishry Products) 3 (2-3-6)
01254374 เทคโนโลยีการบรรจุผลิตภัณฑ์ประมง ( Fishery Product Packaging Technology) 2 (2-0-4)
01254381 การออกแบบและการจัดการโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ( Fish Processing Plant Design and Management) 2 (2-0-4)
01254461 หลักวิศวกรรมทางผลิตภัณฑ์ประมง  ( Principle of Fishery Products Engineering) 3 (3-0-6)
01254462 หลักวิศวกรรมทางผลิตภัณฑ์ประมง ภาคปฏิบัติการ ( Laboratory in Principle of Fishery Products Engineering) 1 (0-3-2)
01254491 เทคนิคการวิจัยพื้นฐานทางผลิตภัณฑ์ประมง (Basic Research Methods in Fishery Products ) 3(1-6-5)
01254497 สัมมนา (Seminar) 1 1
01402301 ชีวเคมีทั่วไป (General Biochemistry) 3(3-0-6)
01402301 ชีวเคมีทั่วไป ภาคปฏิบัติการ (Laboratory in Biochemistry) 1(0-3-2)

นอกจากนิสิตต้องผ่านการเรียนในรายวิชาที่กำหนดแล้ว นิสิตต้องมีชั่วโมงฝึกงานอย่างน้อย 200 ชั่วโมง   และผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 15 กิจกรรม หรือมีจำนวนหน่วยชั่วโมงไม่น้อยกว่า 50 หน่วยชั่วโมง ครบทุกประเภทกิจกรรม

ดูหลักสูตรปริญญาตรี สาขาอื่นๆ

โทร : +66 2942 8644-5
นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์
หัวหน้าภาควิชา
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
ปร.ด. (พัฒนาผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.ม. (ผลิตภัณฑ์ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การแปรรูปสัตว์น้ำ
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
เปรมวดี เทพวงศ์
รองหัวหน้าภาควิชา
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Doctor of Marine Science (Applied Marine Biosciences), Tokyo University of Marine Science and Technology, ประเทศญี่ปุ่น
วท.ม. (ผลิตภัณฑ์ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : การใช้ประโยชน์สารสกัดธรรมชาติในการดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ เคมีอาหาร
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
นวพร วรรณวิศาล
รองหัวหน้าภาควิชา
ตำแหน่ง : อาจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
ปร.ด. (เทคโนโลยีการบรรจุ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.ม. (เทคโนโลยการบรรจุ),มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (เทคโนโลยการบรรจุ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : เทคโนโลยีการบรรจุผลิตภัณฑ์ประมง การบรรจุเชิงอินเทลลิเจนท์ บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
จุฑา มุกดาสนิท
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Ph.D. (Food Chemistry), Ehime University, ประเทศญี่ปุ่น
M.Sc. (Agriculture), Kagawa University, ประเทศญ๊่ปุ่น
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : ความปลอดภัยอาหาร สารให้กลิ่นรสจากสัตว์น้ำ การวิเคราะห์องค์ประกอบในอาหาร เคมีอาหาร
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
วันชัย วรวัฒนเมธีกุล
ตำแหน่ง : รองศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Ph.D. (Applied Bioresource Science), Ehime University, ประเทศญี่ปุ่น
วท.ม. (เทคโนโลยีทางอาหาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ การแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำและพืชน้ำ
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
กังสดาลย์ บุญปราบ
ตำแหน่ง : รองศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Ph.D. (Bioresources Science), Yamaguchi University, ประเทศญี่ปุ่น
วท.ม. (จุลชีววิทยา), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (เกษตรศาสตร์), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ประเทศไทย
Microbiology, Biochemistry in Fishery Product, Post harvest technology
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา และ ชีวเคมีในผลิตภัณฑ์ประมง เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวสัตว์น้ำ ระบบความปลอดภัยในอาหาร ผลิตภัณฑัณฑ์ประมงที่ไม่ใช่อาหาร การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสาหร่าย
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
เยาวภา ไหวพริบ
ตำแหน่ง : รองศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Ph.D. (Chemical Engineering), The University of Queensland, ประเทศออสเตรเลีย
วท.ม. (เทคโนโลยีทางอาหาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
วท.บ. (เทคโนโลยีทางอาหาร), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : สารที่มีสมบัติเชิงฟังก์ชั่นจากผลพลอยได้การแปรรูปสัตว์น้ำ ไคติน ไคโตซาน เทคโนโลยีชีวภาพอาหาร ความปลอดภัยอาหาร
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
จีรวรรณ มณีโรจน์
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
D.Eng. (Food Engineering), Asian Institute of Technology, ประเทศไทย
วศ.ม. (วิศวกรรมการอาหาร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร การแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำและพืชน้ำ การตรวจสอบคุณภาพแบบไม่ทำลายตัวอย่างในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์
ตำแหน่ง : รองศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Ph.D. (Food Science and Technology), The University of Georgia, ประเทศสหรัฐอเมริกา
วท.ม. (ผลิตภัณฑ์ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเชิงฟังก์ชัน encapsulation technology
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
จีรภา หินซุย
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
ปร.ด. (ผลิตภัณฑ์ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.ม. (ผลิตภัณฑ์ประมง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
วท.บ. (เคมีการเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ : เอนไซม์ในสัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือของอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
ลลิตพรรณ กฤษณยรรยง
ตำแหน่ง : อาจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Doctor of Philosophy, (Applied Marine Biosciences),Tokyo University of Marine Science and Technology
Master of Marine Science, (Food Science and Technology), Tokyo University of Marine Science and Technology
วท.บ. (ประมง) สาขาผลิตภัณฑ์ประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ :
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

โทร : +66 2942 8644-5
ภาสกร กิ่งวัชระพงค์
ตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ดร.)
การศึกษา :
Doctor of philosophy, Agricultural Science, Kyushu University, Japan.
วท.ม. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ประเทศไทย
วท.บ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2), ประเทศไทย
หัวข้อวิจัยที่สนใจ/ความเชี่ยวชาญ :
บทความทางวิชาการ : อ่านเพิ่มเติม

มีนา ปานทอง
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ
ดวงเดือน กุลวิลัย
นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
พิศมัย ศรีจันทร์
ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

ผลงานวิจัย ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

แซลมอนเนื้อนุ่มพร้อมบริโภค
ปลาดุกสวรรค์
ห่อหมกปลาไร้กะทิบรรจุรีทอร์ทเพาช์
ห่อหมกปลาไร้กะทิผ่านกระบวนการซูวี
หอยนางรมฉายรังสีแบบครึ่งฝา
หอยนางรมฉายรังสีแบบแกะเนื้อ
ลูกชิ้นปลาดุก
ลูกชิ้นปลาแซลมอน
ไส้กรอกปลาแซลมอน
แครกเกอร์แซลมอน
แครกเกอร์แซลมอน
ซอสสาหร่ายผักกาดทะเล
ผงกลิ่นรสกุ้งเข้มข้น
คอลลาเจนจากแมงกะพรุน
น้ำมันปลาบริสุทธิ์/น้ำมันปลาในรูปแบบเม็ดบีดแห้ง
ผงเลือดปลาทูน่า
ผงโปรตีนไฮโดรไลเซทจากน้ำนึ่งปลาทูน่า
ไคโตโอลิโกเมอร์
อนุภาคนาโนไคโตซาน

ผลงานของนิสิต ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

กดที่นี่

ข่าวประชาสัมพันธ์ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง

กดที่นี่