คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมและร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบันมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
- #คืนเต่าตนุสู่ท้องทะเลไทย วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนถิ่น โดยในกิจกรรมมีการปล่อยเต่าตนุจำนวน 26 ตัว และปล่อยหอยหมากจำนวน 50,000 ตัว เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศทางทะเล ณ สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนี้ ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง ผศ.ดร.พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล หัวหน้าศูนย์บริหารงานวิจัยและสนับสนุนวิชาการ พร้อมบุคลากร ร่วมให้การต้อนรับ
สาระความรู้เกี่ยวกับเต่าตนุ เต่าตนุเป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ???????????????????????????????? ???????????????????? มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มวัย ความยาวประมาณ 1 - 1.2 เมตร น้ำหนักราว 130 - 150 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย กินทั้งพืชและสัตว์ แต่กินพืชเป็นหลัก โดยกินอาหารจำพวกหญ้าทะเล สาหร่ายทะเล ตลอดจนสัตว์น้ำขนาดเล็กทั่วไป สามารถพบได้ในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งหรือตามเกาะต่าง ๆ โดยกระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยสามารถพบได้ทั้งที่อ่าวไทยและอันดามัน แหล่งวางไข่ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ เกาะคราม จ.ชลบุรี และเกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช ฝั่งอันดามัน ได้แก่ เกาะสิมิลัน เกาะสุรินทร์ เกาะพระทอง เกาะคอเขา จ.พังงา และหมู่เกาะอาดังราวี จ.สตูล
- #กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ในวันที่ 13 มีนาคม 2566 สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลระนอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระนอง หน่วยงานในสังกัดกรมประมง และชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ ทำกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในทะเลอันดามัน บริเวณหาดประพาส ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง