14.2.1 มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน้ำจืด เช่น การจัดการชลประทาน การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติ  

     ▶️ หน่วยงานของคณะประมง กับการจัดโปรแกรมการการสอนด้านระบบนิเวศ์น้ำจืดให้แก่ชุมชม
     คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน้ำจืดให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน   รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงและการจัดการด้านประมง
    คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชุนในการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ ร่วมกันส่งเสริมการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง สร้างหลักสูตรการเพาะเลี้ยงและเทคนิคการผสมพันธุ์ปลากัดเพื่อให้มีสีสันสวยงามตามความต้องการ เพื่อสร้างรายได้และเป็นแนวทางประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.2.2   มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนหรือโปรแกรมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนเรื่องการจัดการการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

     ▶️ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอนหรือโปรแกรมดูงานนอกสถานที่เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน 
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยงอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️ จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านประมงสู่ชุมชน
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการประมงให้กับสังคมและชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง  อาทิ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ รูปแบบ on-site และ online เรื่อง "การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ปูม้า" ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนธนาคารปูม้าตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model  รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  ร่วมกับหน่วยงานภายนอกจัดกิจกรรมส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชนในด้านการเพาะเลี้ยงและการจัดการด้านประมง
           คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับหน่วยงานภายนอก จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้แก่ชุมชุนในการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ ร่วมกันส่งเสริมการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขัง สร้างหลักสูตรการเพาะเลี้ยงและเทคนิคการผสมพันธุ์ปลากัดเพื่อให้มีสีสันสวยงามตามความต้องการ เพื่อสร้างรายได้และเป็นแนวทางประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ   รายละเอียดเพิ่มเติม...

 

14.2.3   มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสานึกต่อการทำประมงเกินขนาด การทำประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและการทำประมงแบบทำลายล้าง

     ▶️  กิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกต่อการทำประมงผิดกฏหมาย           
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสานึกต่อการทำประมงเกินขนาด การทำประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและการทำประมงแบบทำลายล้าง ผ่านทั้งการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการสู่สังคมและชมชน  โดยในปี 2564 ได้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ    รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.3.1   มีการสนับสนุนหรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งนาและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

    ▶️  วิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร
           สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเล          
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศแหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน อาทิ  การดำเนินโครงการ "การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทะเลและชายฝั่งบริเวณปากคลองไทย ฝั่งอันดามัน"    การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึก..  รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  กิจกรรมวิ่งเวอร์ชวลรัน Run For Sea (วิ่งเพื่อทะเลไทย)     
           จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลไทยได้เกิดขึ้นถึง 2 ครั้งในช่วงปลายเดือนมกราคม 2565 เเละเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันดีเซล จอดทอดสมอและอับปางลงกลางอ่าวไทย ซึ่งมีระยะห่างจากปากน้ำชุมพรประมาณ 24 ไมล์ทะเล โดยภายในเรือมีน้ำมันอยู่ประมาณ 5 แสนลิตร ส่งผลให้มีน้ำมันบางส่วนรั่วไหลออกมา  ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศสัตว์น้ำโดยตรง ทั้งยังรวมไปถึงระบบเศรษฐกิจ เเละประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทไทยดอทรัน จำกัด (ไทยรัน) เเละเพื่อนนักวิ่งที่มีใจรักในธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม มีความประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือธรรมชาติเเละสังคมไทย ผ่านช่องทางการวิ่ง จึงจัดกิจกรรม Run For Sea (วิ่งเพื่อทะเลไทย) โดยทุกการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม จะบริจาคเงินจำนวน 50 บาท มอบเป็นเงินทุนบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงานให้กับ”คณะทำงานการปฏิบัติงานกรณีเกิดเหตุการณ์เร่งด่วน หรือเป็นที่สนใจของสังคม ทางด้านการประมงเเละวิทยศาสตร์ทางน้ำ”   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.3.3   มีการดำเนินการ (วิจัยหรือร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม) ในการรักษาหรือฟื้นฟูระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบนิเวศที่ถูกคุกคาม

     ▶️  โครงการศึกษา Blue Carbon ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออก มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปี2050         
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  จัดทำโครงการศึกษาความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของแหล่งหญ้าทะเลที่จัดเป็นระบบนิเวศ Blue Carbon ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูงมาก โดยตั้งเป้าการทำงานในบริเวณเกาะหมากและเกาะกระดาด จังหวัดตราด จัดเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการศึกษาแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังของภาคตะวันออกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ดังกล่าว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอนในทางปฏิบัติต่อไป  โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในครั้งนี้ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนดูแลฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ    รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  วิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร
           สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  การให้ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ทะเลหายาก ใกล้สูญพันธุ์
           การให้ความร่วมมือด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ทะเลหายาก ใกล้สูญพันธุ์ เป็นอีกหนึ่งภาระกิจที่คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันคณะประมงได้มีการจัดเตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงเพาะพักภายในสถานีวิจัยในสังกัดของคณะ ให้เป็นพื้นที่พักฟื้นของสัตว์ทะเลที่มีปัญหาด้านสุขภาพ  ระหว่างรอส่งตัวให้กับหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการดูแลรักษาต่อไป  รายละเอียดเพิ่มเติม...
  

14.3.4   มีการวิจัยหรือร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือแนวปฏิบัติที่ช่วยป้องกันและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  โครงการศึกษา Blue Carbon ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออก มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปี2050         
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  จัดทำโครงการศึกษาความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของแหล่งหญ้าทะเลที่จัดเป็นระบบนิเวศ Blue Carbon ซึ่งมีข้อมูลอ้างอิงว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูงมาก โดยตั้งเป้าการทำงานในบริเวณเกาะหมากและเกาะกระดาด จังหวัดตราด จัดเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการศึกษาแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังของภาคตะวันออกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของแหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่ดังกล่าว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอนในทางปฏิบัติต่อไป  โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในครั้งนี้ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนดูแลฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ    รายละเอียดเพิ่มเติม...

    ▶️  วิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร
           สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมกับชาวประมงผู้เลี้ยงกุ้งมังกรและผู้รับซื้อกุ้งมังกร เพื่อดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (ABC) ภายใต้โครงการ "การพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรเลน (Panulirus polyphagus) เพื่อสร้างนวัตกรรมการผลิตและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน" ที่สนับสนุนทุนดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ทั้งนี้เพื่อ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรกุ้งมังกรจากทะเลและจากการเพาะเลี้ยงนอกชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวเชิงวิถี การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  บันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานอื่นเพื่อร่วมวางแนวทางการพัฒนาทรัพยากรทางการประมงอย่างยั่งยืน
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานต่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมวางแนวทางการพัฒนาทรัพยากรทางการประมงอย่างยั่งยืน อาทิ  บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการพัฒนาระหว่าง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ เป็นการร่วมมือด้านแผนพัฒนายึดมั่นแนวทางการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรทางการประมง โดยใช้หลักการพัฒนา BCG Model และร่วมกันส่งเสริมเศรษฐกิจการประมง เพื่อตอบสนองการพัฒนาจังหวัดในภูมิภาคอันดามัน  รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.4.2   มีการดำเนินแนวทางในการลดขยะพลาสติกภายในคณะ

     ▶️  จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ        
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการดำเนินการในการจัดขยะพลาสติกภายในคณะอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ได้มีการจัดกิจกรรมการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะพลาสติกรีไซเคิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตและบุคลากรได้ตระหนักรู้ เรื่อง การคัดแยกขยะ และการจัดการขยะพลาสติกรีไซเคิลที่ทุกคนสามารถนำไปทำตามได้ง่าย ๆ และผลของการตระหนักรู้นี้  และในปี 2564 คณะประมงได้ต่อยอดการจัดขยะพลาสติกภายในคณะ โดยจัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ”    รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ส่งเสริมการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ คณะประมง         
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมจัดกิจกรรม “ขวดแลกเสื้อ สร้างรอยยิ้ม”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกฝังในเรื่องความสาคัญในการจัดการขยะ การคัดแยกประเภทของขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ให้แก่บุคลากร และนิสิต และเพื่อปลูกจิตสำนึกให้บุคลากร และนิสิตมีความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนส่งเสริมกิจกรรมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   รายละเอียดเพิ่มเติม...
  

14.5.1  มีนโยบายการลดผลกระทบทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ

     ▶️  งานวิจัยเพื่อฟื้นฟูหญ้าทะเล แหล่ง"Blue Carbon" 
           หญ้าทะเลเป็นแหล่ง Blue Carbon ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ คณะประมง ทำงานเกี่ยวกับหญ้าทะเลมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา คณะประมงเน้นการวิจัยเพื่ออนาคต เพื่อหาวิธีในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลโดยแก้ปัญหาการใช้ต้นพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติให้น้อยที่สุด จากการเวลาศึกษา ลองผิดมากกว่าลองถูก จนในที่สุดเราสามารถพัฒนาวิธีการกระตุ้นให้หญ้าชะเงาแตกยอด จาก 1 เมล็ด ให้ออกมาเป็น 300 ยอด ได้เป็นผลสำเร็จ  ปัจจุบัน เราร่วมมือกับหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัย กรมอุทยานแห่งชาติฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พัฒนาวิธีการผลิตต้นพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและอนุบาลต้นอ่อน    รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประมงและพลังงานสีเขียว (Fishery, Energy and Sustainability)        
             คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ดำเนินการโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประมงและพลังงานสีเขียว โดยจัดทำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนน้ำ (Floating Solar) เพื่อใช้ในอาคารศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำประดับ โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ตามแผนงานของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในด้านการใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  สมุทรศาสตร์ก้าวไกลด้วยการวิจัยและความร่วมมือ       
             คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ,สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน. ) และสถาบัน Deltares ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังความร่วมมือภายใต้โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณพื้นที่อ่าวไทย 2561-2564 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย ตลอดจนการบูรณาการความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อรวบรวมและพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.2  มีการติดตามและดูแลสุขภาพของระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  ศึกษาและวิจัยเพื่อแหล่งน้ำไทยสู่การพัฒนา        
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยาการน้ำ (สสน.) ร่วมสำรวจ "พลวัติการรุกตัวของลิ่มความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยา  ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่ 2   โดยการสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการรุกตัวของลิ่มความเค็ม แบบ 3 มิติ ตลอดลำน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากแม่น้ำ รวมเป็นระยะทาง 130 กิโลเมตร โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาแบบจำลอง การรุกตัวของลิ่มความเค็ม ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และคุณภาพน้ำประปา เพื่อการอุปโภค บริโภค ตลอดจนการเกษตรกรรม  รายละเอียดเพิ่มเติม...

   ▶️  สมุทรศาสตร์ก้าวไกลด้วยการวิจัยและความร่วมมือ       
             คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ,สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน. ) และสถาบัน Deltares ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังความร่วมมือภายใต้โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณพื้นที่อ่าวไทย 2561-2564 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย ตลอดจนการบูรณาการความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อรวบรวมและพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.3  มีการพัฒนาและสนับสนุนโครงการหรือแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่พิทักษ์หรือรักษาสิ่งมีชีวิตในน้ำ

     ▶️  เปิดตัวต้นแบบกระชังยักษ์ ที่ใช้เทคนิคเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่      
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวต้นแบบกระชังยักษ์ที่ใช้เทคนิคเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ ที่เพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลแบบผสมผสานได้หลากหลายชนิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เชิงเดี่ยว ลดความเสี่ยงด้วยผลผลิตหลากหลาย ตัวกระชังยังสามารถวัดคุณภาพน้ำได้แบบ real time ใช้ AI ช่วยให้อากาศ ควบคุมการให้ได้อาหารจากระยะไกล ใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  ร่วมจัดงาน Run For The Ocean "วิ่งมหาสนุกเพื่อมหาสมุทรของเราปี 2      
           คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมจัดงาน Run For The Ocean "วิ่งมหาสนุกเพื่อมหาสมุทรของเราปี2"???? โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วร่วมสมทบทุนโครงการ และกิจกรรมการดำเนินงานของคณะประมงในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเล และสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันแล้วกว่า 2,200 คน ขอขอบคุณเพื่อนนักวิ่ง ผู้สนับสุนน และพันธมิตรทุกท่านที่ร่วมทำให้เกิดกิจกรรมในการช่วยเหลือและปกป้องท้องทะเลไทยจากปัญหาขยะทะเลในครั้งนี้   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  จัดทำแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการจัดการขยะทะเลในเรือประมงและชุมชนประมงพื้นบ้าน 
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการจัดการขยะทะเลในเรือประมงและชุมชนประมงพื้นบ้าน โดยความร่วมมือกับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้โครงการการเสริมสร้างการจัดการขยะในทะเลบนเรือประมงพื้นบ้านและครัวเรือนประมงเพื่อการลดขยะในทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป และกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และ Expertise France (EF)  โครงการนี้มีคณะนักวิจัยจากภาควิชาการจัดการประมง วิทยาศาสตร์ทางทะเล และผลิตภัณฑ์ประมง เป็นผู้ร่วมดำเนินการ โดยมีหัวหน้าโครงการ คือ ผศ.ดร.เมธี แก้วเนิน นอกจากนี้โครงการยังผลิตภาพยนตร์สั้นและโปสเตอร์เพื่อให้ความรู้ และรณรงค์ให้เกิดการจัดการขยะทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.4  มีการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการรักษาระบบนิเวศในน้ำ

     ▶️  จากศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ สู่โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ "คืนปูม้าสู่ทะเลไทย"           
           เป็นโครงการวิจัยที่สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)  มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้กับท้องทะเลไทย รวมทั้งการจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน  โดยคัดเลือกพื้นที่อำเภอปะทิว และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ต้นแบบในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะต่างๆในการทำธนาคารปูม้าให้กับชุมชน  ตามแนวทาง BCG Model ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เสริมสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน และขยายผลสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีของชุมชนตำบลคลองวาฬ   รายละเอียดเพิ่มเติม...

     ▶️  โครงการวิจัยการเลี้ยงปลิงทะเลในพื้นที่บ้านเกาะปู จังหวัดกระบี่ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน      
           สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงปลิงทะเล ภายใต้โครงการวิจัยการเลี้ยงปลิงทะเลในพื้นที่บ้านเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงปลิงทะเล เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยในปัจจุบันคณะประมง โดยสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน จ.ระนอง และสถานีวิจัยประมงศรีราชา จ.ชลบุรี  ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงปลิงทะเล ทั้งในระบบโรงเรือนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและในคอกล้อมเลี้ยงพื้นที่ธรรมชาติ โดยสามารถเลี้ยงและเก็บผลผลิตปลิงทะเลตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไปได้เป็นผลสำเร็จ     รายละเอียดเพิ่มเติม...

   ▶️  สมุทรศาสตร์ก้าวไกลด้วยการวิจัยและความร่วมมือ       
             คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล ,สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(สสน. ) และสถาบัน Deltares ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผนึกกำลังความร่วมมือภายใต้โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณพื้นที่อ่าวไทย 2561-2564 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและวิจัย ตลอดจนการบูรณาการความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อรวบรวมและพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศไทย   รายละเอียดเพิ่มเติม...

14.5.5  มีกลยุทธ์ในการจัดการลุ่มน้ำบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ 

     ▶️   ร่วมในโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ            
            คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มูลนิธิเอ็นไลฟ โดยการสนับสนุนของ บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีวลลอปเม้นท์ จำกัด (ปตท.สผ. อีดี)  ได้เข้าร่วมสำรวจและเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพบริเวณเกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี ในโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล  การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม  รายละเอียดเพิ่มเติม...