คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดการลุ่มน้ำบนพื้นฐานของความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบันมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้

  • #คืนเต่าตนุสู่ท้องทะเลไทย 🐢 วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนถิ่น โดยในกิจกรรมมีการปล่อยเต่าตนุจำนวน 26 ตัว และปล่อยหอยหมากจำนวน 50,000 ตัว เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในระบบนิเวศทางทะเล ณ สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนี้ ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง ผศ.ดร.พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล หัวหน้าศูนย์บริหารงานวิจัยและสนับสนุนวิชาการ พร้อมบุคลากร ร่วมให้การต้อนรับ
  • วันที่ 15-18 สิงหาคม 2566  ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกับศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ครั้งที่ 1  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจด้านอนุกรมวิธานและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์  รวมทั้งฝึกปฏิบัติในการสร้างชั้นเรียนอนุกรมวิธานแพลงก์ตอน สาหร่ายและปลา
  • วันที่ 26 พฤษภาคม 2566  นายเดชา ดวงนามล หัวหน้าสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน (คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดระนอง) เข้าร่วมประชุมเครือข่ายภาคีชุมชนชายฝั่ง อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566  ณ โรงแรมภูงา ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา  โดยมีนายอภิชัย เอกวนากุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานในพิธี ซึ่งการประชุมเครือข่ายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเครือข่าย การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สร้างเวทีการสื่อสารร่วมกัน ตลอดจนพัฒนาข้อมูลความรู้ในทางนโยบาย ระเบียบ กฎหมาย ข้อมูลในระดับพื้นที่ สภาพระบบนิเวศ แหล่งทรัพยากร การจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน