คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี  สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน ดังนี้

1) การเรียนการสอนและฝึกอบรมด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
    โปรแกรมการเรียนการสอนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการดำเนินการภายใต้ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง และสถานีวิจัยประมงทั้ง 5 สถานี โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การฝึกงานนิสิตคณะประมงและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่น การฝึกอบรมให้ชุมชน การศึกษาดูงานแก่บุคคลภายนอก อาทิ

▶️ การฝึกงานภาคสนามให้แก่นิสิตนักศึกษา  โดยสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มีการฝึกงานภาคสนามให้แก่นิสิตนักศึกษา 3 สถาบัน คือ นิสิตจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และนักศึกษาจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จำนวนทั้งสิ้น 35 คน 

ภาพนิสิตฝึกงานด้านการเพาะเลี้ยงลูกกุ้งมังกรเลน

  

ภาพนิสิตฝึกงานเพาะเลี้ยงปลากะพงแดง

และในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 นิสิตและนักศึกษาจากทั้งสามสถานศึกษาได้นำเสนอผลการดำเนินการจากการฝึกงาน

▶️  ให้การศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยง  สถานีวิจัย คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยในปี 2564 ถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ

  • วันที่ 13 ธันวาคม 2564 สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภัททิรา พงษ์ทิพย์พาที รักษาการแทนผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะนวัตกรรมการเกษตรและประมง ปฏิบัติหน้าที่แทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี พร้อมคณะ เข้าศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงปูม้าของสถานีฯ เพื่อนำไปพัฒนางานด้านการเพาะเลี้ยงปูม้าในพื้นที่ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเป็นประโยชน์ด้านการเรียนการสอนและงานวิจัย
  • เมื่อวันที่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน นำโดยหัวหน้าณัฐพงศ์ ปานขาว ได้ให้ความอนุเคราะห์ในการศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตลูกปลาน้ำจืดแก่นายทหารในหลักสูตรสัญญาบัตรเกษตรกรรมและการสัตว์ ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำนวน 53 นาย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้มีโอกาศในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจด้านการผลิตสัตว์น้ำจืด เพื่อสามารถเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการปฏิบัติจริงได้ในอนาคต 
  • 26 สิงหาคม 2565  สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มาหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเกตการาม จังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งสิน 75 คน ที่เข้ามาดูแหล่งเรียนรู้สถานี ฯ ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงปูม้า กุ้งทะเล ปลากะพงแดง กุ้งมังกร รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และเปิดโลกของการเรียนรู้ให้กับน้องๆ ต่อไป 
  • วันที่ 11 ตุลาคม 2565 สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับ ผศ.ดร.กุลภา กุลดิลก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำคณะนิสิตที่เรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรประมง เข้ารับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมกิจกรรมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ณ สถานีวิจัยประมงศรีราชา ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมประมงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง บรรยายพิเศษแก่นิสิตจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มาฝึกงาน ณ สถานีวิจัยประมงศรีราชา  รวมทั้งคณะมูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์ - ฟื้นฟูปะการังและชายหาด เข้าเยี่ยมชมกิจกรรมด้านงานวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


2) การเรียนการสอนและฝึกอบรมด้านการจัดการการทำประมง  มีการดำเนินการภายใต้ภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง และสถานีวิจัยประมงทั้ง 5 สถานี อาทิ

นิสิตและคณาจารย์จากภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในหัวข้อเรื่อง "ส่งเสริมการเลี้ยงสัตวน้ำและแปรรูปสัตว์น้ำ" ให้แก่บุคลากรและผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี  ในวันที่ 17 ตุลาคม 2565

3) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 
    โดย ดร.ศิริสุดา จำนงทรง ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัย ภายใต้โครงการนวัตกรรมโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจประมงในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันตอนล่าง ณ ห้องประชุม SeeSea Resort ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล  ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์ คือเป็นเวทีและเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัย ที่นำไปสู่โมเดลธุรกิจท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับธุรกิจประมงที่เหมาะสมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทรัพยากรทางน้ำ

ภาพการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิจัย โครงการนวัตกรรมโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงธุรกิจประมงในพื้นที่ชายฝั่งอันดามันตอนล่าง ณ ห้องประชุม SeeSea Resort ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล  ในวันที่ 25 มกราคม 2565