คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นหรือระดับชาติอย่างต่อเนื่องครอบคลุมด้านการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน โดยมีหน่วยงานที่สนับสนุนภารกิจดังกล่าว คือ ภาควิชาทั้ง 5 ภาควิชา และสถานีวิจัยประมง 5 สถานี คือ สถานีวิจัยประมงกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  สถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม  จังหวัดสมุทรสงคราม สถานีวิจัยประมงศรีราชา จังหวัดชลบุรี  สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ และสถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน ดังนี้

1) การเรียนการสอนและฝึกอบรมด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
    โปรแกรมการเรียนการสอนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีการดำเนินการภายใต้ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง และสถานีวิจัยประมงทั้ง 5 สถานี โดยมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การฝึกงานนิสิตคณะประมงและนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่น การฝึกอบรมให้ชุมชน การศึกษาดูงานแก่บุคคลภายนอก อาทิ

▶️ การเรียนการสอนด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  อาทิ

  • วันที่ 7-8 ตุลาคม 2566 อ.ดร.อัครศิริ แสงสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำนิสิตคณะประมง วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ลงเรียนวิชาการเลี้ยงสัตว์ทะเล (01251324) จำนวน 60 คน มาเข้าพัก ณ อาคารถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมง สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ พร้อมศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจของสถานี ได้แก่ ปูม้า ปูทะเล (ปูขาว) กุ้งมังกรเลน และปลากะพงแดง โดยมีบุคลากรวิจัยของสถานีเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้
  • ที่ 16 ตุลาคม 2566 สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมง 2566 "International Training on Aquaculture and Fisheries 2023 (ITAF 2023)"  ให้แก่คณาจารย์และนิสิตจากภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ผู้เข้าอบรมได้รับฟังการบรรยายทางวิชาการ หัวข้อ "Field visit : Mussel aquaculture" พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ของสถานีวิจัยฯ โดยมีนายอลงกต อินทรชาติ หัวหน้าสถานีวิจัยฯ พร้อมบุคลากรวิจัยของสถานีฯ ร่วมให้การต้อนรับ

▶️ การฝึกงานภาคสนามให้แก่นิสิตนักศึกษา  อาทิ

  • 18 ตุลาคม 2566 ฝึกงานนิสิตสหกิจศึกษาจากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บเกี่ยวผลผลิตลูกปูม้าระยะ first crab (อายุ 1 วัน) ที่ได้จากการเพาะและอนุบาลของนิสิตเอง โดยได้ผลผลิตลูกปูม้าทั้งหมดจำนวน 11,900 ตัว ทั้งนี้ ผลผลิตส่วนหนึ่ง (3,000 ตัว) ได้ปล่อยลงเลี้ยงต่อในบ่อดินขนาด 1 ไร่ ของสถานีฯ เพื่อการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปูม้าในบ่อดินต่อไป ส่วนผลผลิตอีกส่วนหนึ่ง (8,900 ตัว) ได้นำไปปล่อยลงสู่ทะเลบริเวณชายฝั่งคลองวาฬ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของการมาปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ ในการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้กับชุมชนในพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน 
ภาพนิสิตฝึกงานด้านการเพาะเลี้ยงลูกปูม้า
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2566 สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ัจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ เรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการประมง 2566 "International Training on Aquaculture and Fisheries 2023 (ITAF 2023)"   โดยมีคณาจารย์และนิสิตภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับฟังการบรรยายทางวิชาการ หัวข้อ "Field visit : Mussel aquaculture" ณ สถานีวิจัยประมงศรีราชา พร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ ของสถานีวิจัยฯ 
ภาพนิสิตฝึกงานเพาะเลี้ยงปลากะพงแดง

▶️  ให้การศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยง  สถานีวิจัยประมง คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยในปี 2565 ถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ

  • วันที่ 19 กันยายน 2566 สถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้การต้อนรับท่าน ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กองทัพเรือ ในโอกาสที่ท่านได้นำคณะผู้ช่วยวิจัยฯ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เข้าศึกษาดูงานการเลี้ยงหอยแมลงภู่และกิจกรรมด้านประมงอื่นๆ ณ สถานีวิจัยประมงศรีราชา เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้ช่วยนักวิจัยฯ โดยมีนายอลงกต อินทรชาติ หัวหน้าสถานีวิจัยฯ พร้อมคณะบุคลากรวิจัยของสถานีฯ บรรยายความรู้และนำเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆ


2) การเรียนการสอนและฝึกอบรมด้านการจัดการการทำประมง  มีการดำเนินการภายใต้ภาควิชาการจัดการประมง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง และสถานีวิจัยประมงทั้ง 5 สถานี อาทิ

14 กันยายน 2566  กิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในวิชาเรียนการประมงทั่วไป ปีการศึกษา 2566 สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 60 คน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากหัวหน้าสำนักงานสะพานปลาสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 5 (สมุทรสาคร) ที่มาให้ความรู้กับการบริหารจัดการทรัพยากรประมง และผู้นำชุมชนประมงขนาดเล็กในพื้นที่ชายทะเลกระซ้าขาว ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือประมงในพื้นที่และการแปรรูปสัตว์น้ำ

5 กันยายน 2566 "From farm to table ปลานิลในระบบ IPRS" กิจกรรมทัศนศึกษาในวิชาการประมงทั่วไป ในปีการศึกษา 2566 ได้พานิสิตจำนวน 29 คน ลงพื้นที่นครปฐมวันที่ 3 กันยายน 2566 โดยได้รับความอนุเคราะห์เยี่ยมชมธนันชัยฟาร์ม ของคุณธนันชัย เอกเผ่าพันธุ์ (เกษตรกรดีเด่นด้านประมง ปี 2566) ได้พัฒนาความรู้จากการอบรมระบบ IPRS มาใช้ในการเลี้ยงปลานิลในกระชังเพื่อแก้ปัญหาทางด้านเลี้ยงและการตลาด

5 กันยายน 2566 "From farm to table ปลานิลในระบบ IPRS" กิจกรรมทัศนศึกษาในวิชาการประมงทั่วไป ในปีการศึกษา 2566 ได้พานิสิตจำนวน 29 คน ลงพื้นที่นครปฐมวันที่ 3 กันยายน 2566 โดยได้รับความอนุเคราะห์เยี่ยมชมธนันชัยฟาร์ม ของคุณธนันชัย เอกเผ่าพันธุ์ (เกษตรกรดีเด่นด้านประมง ปี 2566) ได้พัฒนาความรู้จากการอบรมระบบ IPRS มาใช้ในการเลี้ยงปลานิลในกระชังเพื่อแก้ปัญหาทางด้านเลี้ยงและการตลาด

3) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 

    13 ธันวาคม 2565 สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำคณะตัวแทนชุมชนธนาคารปูม้าสองชุมชนได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าชุมชนม่องล่าย อ.เมือง และศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ศึกษาเรียนรู้และดูงานด้านกิจกรรมธนาคารปูม้าที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวิถี ณ กลุ่มเครือข่ายธนาคารปูม้าอำเภอปะทิว อ.เมือง จังหวัดชุมพร ภายใต้โครงการ "การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนธนาคารปูม้าพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy)" ที่สนับสนุนการดำเนินงานโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธนาคารปูม้าชุมชนบ้านอีเล็ต ต.หาดทรายรี อ.เมือง ธนาคารปูม้าบ้านหินกบ ต.ชุมโค อ.ปะทิว และธนาคารปูม้าโฮมสเตย์บ้านไม้ชายคลอง ต.บางสน อ.ปะทิว  และร่วมถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ หรือแนวทางด้านการดำเนินการธนาคารปูม้าที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวิถีให้กับคณะศึกษาดูงานในครั้งนี้ 

ภาพการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่จากสถานีวิจัยประมงคลองวาฬ กับตัวแทนชุมชนธนาคารปูม้า  ในวันที่ 15 ธันวาคม 2565