โครงการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัลติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัลติดตามการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ส่วนงานที่ร่วมดำเนินการ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเลบริเวณแนวปะการัง
2.เสนอแนะแนวทางการสำรวจโดยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
3. แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์จากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องด้าน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติงานจริง
วัน/เดือน/ปี และสถานที่จัด วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมซัมเมอร์เซ็ท พัทยา (Somerset Pattaya) เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยองจันทบุรี และตราด หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานการศึกษา และผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล
จำนวนผู้เข้าร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 60 คน จากสถาบันการศึกษา 15 คน หน่วยงานราชการ 14 คน หน่วยงานราชการ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) 15 คน ภาคเอกชน 16 คน ดังนี้
1. สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง จันทบุรี และตราด)
2. สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ)
3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
4. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี
5. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง
6. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา
7. สถานีวิจัยประมงศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
8. มหาวิทยาลัยบูรพา (ภาควิชาวาริชศาสตร์)
9. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
10. ผู้ประกอบการดำน้ำและบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการ ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้ข้อมูลสถานภาพของระบบนิเวศปะการังบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก โดยเฉพาะเขตพื้นที่ EEC (ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเลบริเวณแนวปะการังและการใช้ประโยชน์พื้นที่ในพื้นที่เกาะค้างคาว เกาะร้านดอกไม้ เกาะมารวิชัย เกาะกลึงบาดาล เกาะล้าน เกาะครก เกาะสาก และเกาะมันใน) และการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากการจัดประชุมครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงและสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานการจัดการทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ของตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป