บรรยายพิเศษหัวข้อ Fish Fecundity และ The Mediterranean ecosystem and Fisheries

▶️ วันที่ 9 กันยายน 2567 ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมด้วยว่าที่ร้อยตรี ราชมงคล ขจรวุฒิศักดิ์ (นักวิชาการประมงปฏิบัติการและรองหัวหน้าสถานีวิจัยประมงสมุทรสงคราม) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล, กุ้งก้ามกราม การเลี้ยงอาร์ทีเมีย และระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้ป่าชายเลน ณ บรรจงฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้กับคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา จาก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรระยะสั้น ภายใต้ โครงการ KU-KU Student exchange program 2024 โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคุณบรรจง นิสภวาณิชย์ ผู้ก่อตั้งบรรจงฟาร์ม

ดูภาพเพิ่มเติม

บรรยายพิเศษหัวข้อ Fish Fecundity และ The Mediterranean ecosystem and Fisheries

▶️ วันที่ 23 สิงหาคม 2567 คณะประมง ได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Konstantions I. Stergiou  จาก School of Biology, Aristotle University of Thessaloniki ประเทศ Greece บรรยายพิเศษในหัวข้อ Fish Fecundity และ The Mediterranean ecosystem and Fisheries ณ ห้องบรรยาย 205 อาคารบุญ อินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากนั้น Prof. Dr. Konstantions I. Stergiou ได้ร่วมอภิปรายทางวิชาการและการวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.ไพลิน จิตรชุ่ม หัวหน้าภาควิชาชีววิทยาประมง โดยมี รศ.ดร.ธนิษฐา ทรรพนันทน์ ผศ. สมหมาย เจนกิจการ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาประมง และ ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ร่วมอภิปลาย ทั้งนี้ Prof. Dr. Konstantions I. Stergiou ได้ร่วมหารือถึงแนวทางความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยร่วมกับคณะประมง โดยมี รศ.ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร.เยาวภา ไหวพริบ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ร่วมอภิปลายในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 305 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดูภาพเพิ่มเติม

พิธีมอบใบประกาศ ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการ ภายใต้โครงการดูงานและฝึกอบรม ให้กับคณะจากรัฐเอริเทรีย จำนวน 7 คน

▶️ วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง พร้อมด้วย รศ.ดร.เยาวภา ไหวพริบ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล อ.ดร.จักร อรัณยกานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และนายณัฐพงษ์ ปานขาว หัวหน้าสถานีวิจัยประมงกำแพงแสน ให้การต้อนรับ นายกิตติพจน์ หงษ์สมบัติ ผู้อำนวยการกองแอฟริกา นายณัฏฐ์ สวัสดิ์สาลี นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) นางสาวอรรยา ตั้งรัตนโชติกุล นักการทูตปฏิบัติการ จากกระทรวงต่างประเทศ ในโอกาสเข้าร่วมพิธีมอบใบประกาศ ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการ ภายใต้โครงการดูงานและฝึกอบรม Study Tour on Thai fishery operations for The State of Eritrea ระหว่าง 1-14 พฤษภาคม 2567 ให้กับคณะจากรัฐเอริเทรีย จำนวน 7 คน ณ ห้องประชุม 305 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดูภาพเพิ่มเติม

2024-03-22

▶️ วันที่ 22 มีนาคม 2567 นิสิตคณะประมง เข้าร่วมนำเสนอออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom โครงการ OQEANOUS Plus: Online Exchange Program ครั้งที่ 3 ประจำปี 2567 ซึ่งมีนิสิตเข้าร่วมการนำเสนอจำนวน 7 คน ได้แก่
1. น.ส.ธนัชชา ศิริกุล (นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)
2. น.ส.นาตาชา ช่างยนต์ (นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล) 
3. น.ส.ภาพตะวัน บุษปฤกษ์ (นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)
4. น.ส.ธัญวรัตม์ ชูจิตต์ (นิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
5. น.ส.จิรนันท์ คำพุฒ (นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล) 
6. นายพุทธายะ กำเนิดศิริ (นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์)
7. นายวีรภัทร ปิยะพันธ์ (นิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์) 
ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดโดย National Korea Maritime and Ocean University (KMOU) ประเทศเกาหลีใต้ ในหัวข้อ Introduction to Kasetsart University และ Introduction to the OQEANOUS Plus program (Experience as a participant) ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร.เยาวภา ไหวพริบ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-12-27

▶️ วันที่ 27 ธันวาคม 2566 รศ.ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.เยาวภา ไหวพริบ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และ ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้ร่วมหารือผ่านระบบ online กับ Dr.Khor Wai Ho จาก Universiti Malaysia Terengganu ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และ Dr. Tan Kian Ann จาก Beibu Gulf University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อร่วมจัด Postgraduate Symposium ร่วมกับมหาวิทยาลัยอีก 3 แห่ง ได้แก่ Nha Trang University ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Hasanuddin University จากประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีกำหนดเวลาเบื้องต้นในช่วงระหว่างวันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ Universiti Malaysia Terengganu ประเทศมาเลเซีย

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-12-06

▶️ วันที่ 6 ธันวาคม 2566 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น (The 6th KU-KUGSA Bilateral Symposium on "Food, Environment and Life for the Next Generation:Sustainable Development Goals") โดยในส่วน Environmental Science and Technology อาจารย์ ดร. อัครศิริ แสงสว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง ได้นำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย ณ ห้องประชุมวิชาการ  2  ศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 

▶️และในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 คณาจารย์ และนิสิตจาก Kyoto University ได้เข้าเยี่ยมชมบูธนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประมง ในงานเกษตรกำแพงแสน โดยมีนายสหัส ราชเมืองขวาง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ คณะประมง ได้ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม ซึ่งงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1-11 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-09-12

▶️ วันที่ 12 กันยายน 2566 ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.สหภพ ดอกแก้ว และ อาจารย์ ดร.พูนสิน กันทา อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล, กุ้งก้ามกราม และระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้ป่าชายเลน ณ บรรจงฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้กับคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา จาก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรระยะสั้น ภายใต้ โครงการ KU-KU Student exchange program 2023 โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายบรรจง นิสภวาณิชย์ ผู้ก่อตั้งบรรจงฟาร์ม

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-09-04

▶️ วันที่ 4 กันยายน 2566 ได้มีพิธีเปิดการจัดหลักสูตรฝึกอบรม (online) ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมจากประเทศโคลอมเบีย จำนวน 23 คน ในหัวข้อ “Sharing Thailand’s experiences and best practices on adding value and using solid waste in tilapia farming production” ระยะเวลาการอบรมระหว่างวันที่ 4 กันยายน – 3 ตุลาคม 2566 ซึ่งการจัดการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นการประสานงานจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมภายใต้โครงการ Exchange of expert on mutual interest for the benefit of both sides (Fishery) ของแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-โคลอมเบีย ระยะ 3 ปี (2563-2565) โดยในพิธีเปิดมี ผศ.ดร.เมธี แก้วเนิน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะประมง ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะประมง เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม หลังจากนั้นมีการกล่าวเปิดงานโดย the Ambassador of Colombia to the Kingdom of Thailand, TICA's executives, the Director of South-South Cooperation of the Presidential Agency for International Cooperation of Colombia, the Director of International Cooperation of the Ministry of Foreign Affairs of Colombia และผู้แทนจาก Government of Huila หลังจากนั้นเป็นการเริ่มการบรรยายในวันแรกในหัวข้อ” Tilapia diseases and treatments” โดย ดร.อนุรักษ์ บุญน้อย และจะมีการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ตามวันที่กำหนด โดยวิทยากรจากคณะประมงประกอบด้วย ดร.นรธัช ประชุม ผศ.ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล ผศ.ดรจุฑา มุกดาสนิท ผศ.ดร.นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์ รศ.ดร.วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ และอาจารย์นวพร วรรณวิศาล

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-06-08

▶️ วันที่ 8 มิ.ย. 2566 การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Opening black boxes in shrimp infectiology/physiology – The quest for finding the portal of entry of pathogens in shrimp & understanding the functionality of shrimp haemocytes (leukocytes)” ซึ่งคณะประมงได้รับเกียรติจาก Prof. Dr.Hans Nauwynck, Laboratory of Virology, Department of Translational Physiology, Infectiology and Public Health, Ghent University, Belgium มาบรรยาย ณ ห้องประชุม 305 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง โดยมีผู้สนใจร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษดังกล่าว ทั้งในรูปแบบออนไซต์ และออนไลน์

ดูภาพเพิ่มเติม

2023-03-03

▶️ อาจารย์ ดร.สุขกฤช นิมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บรรยายพิเศษเรื่องสถานการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยในปัจจุบัน ให้กับนักศึกษาญี่ปุ่นระดับปริญญาตรี จำนวน 5 คน และ ระดับปริญญาโท จำนวน 1 คน ณ ห้องประชุม 305 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ แหล่งเรียนรู้บริเวณบ่อสิบไร่ และห้องปฏิบัติการของทางคณะฯ

ดูภาพเพิ่มเติม

2022-10-03

▶️ สัมมนา เรื่อง "Biodisel from microalgae and Dessert from catfish surimi"  ในวันจันทร์ที่ 3 ต.ค. 2565 เวลา 09.00 – 10.00 น. ห้อง 303 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย Dr. Eng. Patmawati, S.Pi., M.Si. จาก Faculty of Fisheries and Marine, Universitas Airlangga ประเทศอินโดนีเซีย  ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร. เยาวภา ไหวพริบ email : ffisywp@ku.ac.th

ดูภาพเพิ่มเติม

2022-07-25 ถึง 2022-07-29

▶️ Online course “OQEANOUS Plus Summer School 2022” ภายใต้โครงการ OQEANOUS Plus จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ online โดยการบรรยายจากอาจารย์ จำนวน 17 คน จาก 7 มหาวิทยาลัย และมีนิสิตเข้าร่วมจำนวน 32 คน ในส่วนคณะประมงมี ผศ.ดร.เมธี แก้วเนิน บรรยายเกี่ยวกับ Small Scale Fishing Villages Engagement in Fishery Resource Restoration: A Case of Crab Bank Project in Thailand และ Indo-Pacific Mackerel In The Gulf of Thailand: A Case of Fishery Management Experiences and Challenges และมีนิสิตที่เข้าเรียน online จำนวน 3 คน ได้แก่ นายวีรภัทร ปิยะพันธ์ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง นางสาวอรจิรา ก่อบุญ ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และนายพัชรพล  บุญเสริม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยนิสิตที่เข้าร่วมเรียน ส่งรายงานและร่วมกิจกรรมครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนด สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ 2 หน่วยกิต

ดูภาพเพิ่มเติม

2022-03-17 ถึง 2022-03-18

▶️ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ แบบ online โครงการ International online seminar and training on advanced research in Agriculture, Forestry and Marine Science at Kochi University: Thinking about innovation in primary industries through data science technology  โดย Professor Kou Ikejima, Faculty of Agriculture and Marine Science, Kochi University, JAPAN โดยมีนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะประมง เข้าร่วมจำนวน 2 คน

2022-03-17, ถึง 2023-03-18

▶️ การบรรยาย แบบ online The First OQEANOUS Plus OEP ภายใต้โครงการ OQEANOUS Plus โดย ผศ.ดร. ธนัสพงษ์ โภควนิช  บรรยายเรื่อง Introduction to oceanographic and marine environmental research มีบุคลากรและนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะประมงเข้าร่วมจำนวน 10 คน

ที่มา : https://fish.ku.ac.th/th/blog/khxechiynisit-ekharwmfangkarbrryayokhrngkar-oqeanous-plus